หลักการและเหตุผล
Facilitator หรือ วิทยากรกระบวนการ คือ ผู้จัดหรือผู้นำพากระบวนการแห่งการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดการกลั่นและกรองข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสมาชิกกลุ่ม จนตกผลึกการเป็นชุดความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงานหรือการใช้ชีวิต
แต่ Facilitator หลายท่าน ยังขาดความเข้าใจในกระบวนการอย่างถ่องแท้ ไม่ชัดเจนในบทบาทของตนเอง ขาดทักษะในการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเชิงบวก รวมถึงไม่รู้จักการใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคที่หลากหลายในอันที่จะนำกระบวนการกลุ่มไปสู่การถอดบทเรียนและการตกผลึกที่สำคัญ และที่น่าผิดหวังที่สุด คือกระบวนการกลุ่มจบลงด้วยความคลางแคลงสงสัย เนื่องจากมิได้เกิดชุดความรู้ใหม่อย่างที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ หรือแม้จะได้ข้อสรุปของกลุ่มแต่ก็ไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการปรับใช้ในหน้างานจริง
หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถ
- เลือกกระบวนการ (Facilitative Process) ในการดึงความรู้จากสมาชิกกลุ่มมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบท
- เลือกเครื่องมือที่หลากหลาย (Facilitative Tool) มาใช้ประกอบกระบวนการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
- รู้จักตั้งคำถามที่ทรงพลัง (Powerful Questioning) เพื่อนำพาสู่การถอดบทเรียนที่ทรงประสิทธิผล
- เป็นผู้ฟังที่ดีซึ่งสามารถจับประเด็นและรวบรวมข้อมูลที่สำคัญได้อย่างชัดเจน
- จูงใจและสร้างบรรยากาศแห่งความมีส่วนร่วมเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์
- ทำให้กลุ่มได้ตกผลึกบทเรียนที่สำคัญ (Crystallization) จากการถอดบทเรียน (Debriefing) ได้ตรงตามวัตถุประสงค์และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง
หัวข้อในการเรียนรู้
กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ (Facilitative Process)
+ ประเภทของกระบวนการ
- Individual Sharing การแบ่งปันแบบบุคคล
- Traditional Group Discussion การอภิปรายกลุ่มแบบดั้งเดิม
- Round Robin กลุ่มวน
- Cross Pollination กลุ่มผสมเกสร
+ วิธีการของกระบวนการประเภทต่าง ๆ
+ ข้อดีและข้อจำกัดของกระบวนการแต่ละประเภท
เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการ (Facilitative Tools)
+ ประเภทของเครื่องมือที่หลากหลาย
- เกมหรือกิจกรรม (Game and Activity)
- กรณีศึกษา (Case Study)
- การเล่าเรื่อง (Story Telling)
- คลิปวีดีโอ (VDO Clip)
- การใช้คำถามตั้งต้น (Beginning Questions)
+ การตั้งคำถามแบบสุด (Peak Pain & Peak Pleasure)
+ การตั้งคำถามเพื่อมุมมองที่แตกต่าง (Perceptual Positions)
การถอดบทเรียนและการตกผลึก (Debriefing and Crystallization)
+ ทักษะในการเป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิภาพ (Effective Listening Skills)
- การแสดงออกในการฟัง
- การสะท้อนกลับ
- การจับประเด็นสำคัญ
+ การถอดบทเรียนที่ได้จากสมาชิกกลุ่ม (Debriefing)
+ การตั้งคำถามสู่การตกผลึก (Questioning for Crystallization)
- การตั้งคำถามด้วย L.A.T. Model (Learning-Application-Transformation Model)
- การตั้งคำถามด้วย Stay Stop Start Model
+ แผนปฏิบัติการส่วนตัว (Tailor Made Action Plan)
+ คิด-เขียน-กล่าว สู่พันธะสัจจะ
Facilitator กับการสร้างบรรยากาศแห่งความมีส่วนร่วม
- การละลายพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
- กติกาและข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม
- เทคนิคในการจูงใจเพื่อสร้างความมีส่วนร่วม
- การตั้งความตั้งใจก่อนนำสู่กระบวนการ (Intention Setting)
- เทคนิคการครองเวทีที่สร้างความมีส่วนร่วม
- เสียงดนตรีกับการสร้างบรรยากาศ
รูปแบบของการฝึกอบรม
- ใช้เทคนิคในการจำลองสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้รูปแบบและเทคนิคต่างๆ อันหลากหลายและซึมซับบรรยากาศในการจัดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวเอง
- เรียนรู้ผ่านรูปแบบวิธีการอบรมที่หลากหลายผ่านกิจกรรมกลุ่ม เกม VDO และ Workshop มากมายที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้
- บรรยากาศการเรียนรู้เป็นแบบสนุกสนานและเป็นกันเอง ชวนติดตาม ไม่น่าเบื่อ
- ผู้เรียนมีโอกาสได้ออกแบบและจัดกระบวนการการเรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมรับการประเมินผล แบบโค้ชชิ่งและ Feedback จากผู้สอน เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการจัดกระบวนการให้ดียิ่งๆขึ้น
หลักการและรูปแบบของการฝึกอบรมและเหตุผล
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ที่ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่ได้เรียนรู้และ สามารถนำไปใช้ได้จริง จะต้องเกิดจากความสมดุลย์ระหว่างทักษะ (Skillset) และ ทัศนคติ (Mindset) ซึ่งหลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีความกลมกลืนของสองปัจจัยดังกล่าว ดังนี้
ทักษะ (Skillset)
ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้เทคนิคที่ได้เรียนรู้ในคลาส ซึ่งเป็นการฝึกทักษะในหลายรูปแบบ ได้แก่
- การฝึกเป็นกลุ่มเล็กแบบสามมิติ (Triad) คือ ผู้ฝึกปฏิบัติการสร้างกระบวนการ ผู้เรียน และผู้สังเกตการณ์ สลับบทบาทกันไปจนครบ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีมุมมองที่หลากหลาย
- การฝึกการสร้างกระบวนการเสมือนจริง คือการฝึกการสร้างกระบวนการหน้าคลาสกับผู้ฟังกลุ่มใหญ่พร้อมการอัด VDO
- มีการให้ Feedback รายบุคคลจากผู้สอน เพื่อการพัฒนาการนำเสนอในครั้งต่อไป
- ใช้การ Coaching ซึ่งเป็นการประเมินผลตนเองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทัศนคติ (Mindset)
ผู้สอนออกแบบการสอนให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ปรับทัศนคติ เพื่อให้ยอมรับและเห็นความสำคัญของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ มีความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์เกี่ยวกับการสอนมากขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเป็นกระบวนกร ด้วยกิจกรรมและเทคนิคที่หลากหลาย เช่น
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking) เพื่อให้ลดกำแพงและเปิดใจให้กับการเรียนรู้ และเพิ่มความมั่นใจในการสอนมากขึ้น
- กิจกรรม Intention Setting เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนละความเป็นตัวตน หรือ ลดอีโก้ที่มีในตนเอง ฝึกการออกจาก Comfort Zone กล้าและยินดีที่จะร่วมกิจกรรมแม้จะไม่คุ้นเคย
- การใช้เทคนิควิธีการในการฝึกอบรมต่างๆ เช่น กิจกรรมกลุ่ม เกม กรณีศึกษา บทบาทสมมุติ เวิร์คช็อป คลิปวีดีโอ เสียงเพลง ซึ่งจะกระตุ้นและจรรโลงใจให้ผู้เรียนมีอารมณ์และความรู้สึกร่วม
- บรรยากาศของการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเป็นกันเอง ชวนติดตาม มีการชื่นชม และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นแบบอย่างในการนำไปต่อยอดสู่การนำไปใช้จริง
เครื่องมือการฝึกอบรม
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking)
- กิจกรรมกลุ่ม (Group Activity)
- บทบาทสมมุติ (Role Play)
- การฝึกปฏิบัติ (Skill Practice)
- เกม (Game)
- การอภิปรายกลุ่มย่อย (Group Discussion)
- การแชร์และแบ่งปันข้อมูล (Sharing)
- กลุ่มวน (Round Robin)
- คลิปวีดีโอ (VDO Clip)
- บ่อนคาสิโน (Casino Classroom)
- โค้ชชิ่ง (Coaching)