“คนที่ทำงานดี คนที่ทำงานเก่ง แต่ถ้านำเสนอไม่เก่ง
ดูเหมือนคนไม่เก่ง คนที่ทำงานไม่เก่ง แต่ถ้านำเสนอดี
กลับกลายเป็นคนเก่งในสายตาของใครหลายคน”
“สินค้าดีมีคุณภาพ นำเสนอไม่ดี ขายไม่ออก
สินค้าธรรมดาๆ แต่ถ้านำเสนอเก่ง ขายดิบขายดี”
วันนี้ หากลูกค้าหรือผู้บริหาร ฟังการนำเสนอของพนักงานในองค์กรของคุณ คิดว่าผู้ฟังจะบอกว่าอย่างไร
ลูกค้ามีตัวเลือกที่จะเลือกซื้อจากผู้นำเสนอที่หลากหลายส่วนผู้บริหารก็มีเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจมากมาย เวลาของลูกค้าและผู้บริหารมีคุณค่าทุกวินาที แต่บางครั้งทั้งลูกค้าและผู้บริหารกลับต้องเสียเวลาไปกับการรับฟังการนำเสนอที่ไม่ตรงประเด็น ไม่ตอบโจทย์ วกวน เยิ่นเย้อจับต้นชนปลายไม่ถูก และไม่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจ
ผู้ที่นำเสนอได้โดนใจลูกค้าและผู้บริหาร คือผู้ที่สามารถเรียบเรียงข้อมูลให้เข้าใจได้ง่าย เสนอแนะทางเลือกที่สำคัญต่อการตัดสินใจและสรุปการนำเสนอได้อย่างกระชับและตรงประเด็นภายใต้เงื่อนเวลาอันทรงคุณค่าทุกนาที
จะเป็นอย่างไรหากผู้นำเสนอ
- นำเสนอแล้ว ผู้ฟังไม่เข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ
- ขาดความมั่นใจในการนำเสนอ ตื่นเต้น ประหม่า ควบคุมตนเองไม่ได้อย่างที่ตั้งใจ ไม่มีบุคลิกภาพแห่งความน่าเชื่อถืออันส่งผลลบต่อการนำเสนอ
- ขาดการวางแผนในการนำเสนอที่รัดกุม ไม่รู้จักการบริหารเวลาหรือสัดส่วนในการ นำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
- มีข้อมูลมากมายแต่ไม่ทราบว่าจะเรียงลำดับในการนำเสนออย่างไร
- การนำเสนอไม่น่าสนใจ ไม่น่าติดตาม ขาดเสน่ห์ในการดึงดูดผู้ฟังให้อยู่กับเรา
- เคลื่อนไหวร่างกายไม่เป็น ไม่รู้จะวางมืออย่างไร ใช้สายตาไม่ถูกต้อง
- น้ำเสียงราบเรียบไม่มีพลัง ขาดความชัดเจนฉะฉาน ไม่มีจังหวะจะโคน
- ใช้ Powerpoint Slide แบบไม่มีหลักการ
หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้าอบรม
หัวข้อการฝึกอบรม
บุคลิกภาพของผู้นำเสนอ (Personality of Reliable Presenter)
- มาดที่น่าเชื่อถือในการนำเสนอ การยืน การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้มือ การสบตา
- การใช้ระดับเสียงและน้ำเสียง เสริมด้วยความชัดเจน ฉะฉาน มีจังหวะจะโคน
หลักการโน้มน้าวใจ (How to Persuade)
- ดึงดูดตั้งแต่แรกนำเสนอ
- การแนะนำตัวให้น่าสนใจ
- แนวความคิดแบบ “ถ้าคุณเป็นผู้ฟัง คุณอยากฟังอะไร”
- เครื่องมือในการโน้มน้าวใจให้โดน
- การโน้มน้าวด้วยการเล่าเรื่อง (Story Telling)
- การวางแผนการนำเสนอ Story Line
- การนำเสนอข้อมูลสถิติและตัวเลขในแบบของกราฟ
การคุมคอนเซปต์ในการนำเสนอ (Concept and Theme Controlling)
- การตั้งวัตถุประสงค์ของการนำเสนอให้ตรงประเด็น
- ความกลมกลืนของบทนำ เนื้อหา และบทสรุป
- การเรียบเรียบและลำดับเนื้อหาเพื่อความเข้าใจง่าย
- Key Message กับการคิด “คำพาดหัว”
จิตวิทยาในการนำเสนอ (Psychology of Persuasive Presentation)
- ทัศนคติเชิงบวกเพื่อการนำเสนออย่างมั่นใจ
- การวิเคราะห์และศึกษาผู้ฟัง
- เทคนิคการเปิดการนำเสนอให้น่าติดตาม
- ดึงดูดความสนใจด้วยหลักการ Pain & Pleasure
- การสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมในการนำเสนอ
- การประเมินผลผู้ฟัง ขณะนำเสนอ
เทคนิคในการนำเสนอ (Methods of Presentation)
- การเลือกใช้รูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่หลากหลายในการนำเสนอ
- เทคนิคในการทำ Powerpoint Slide อย่างมีประสิทธิภาพ
- เทคนิคในการใช้อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ
- เทคนิคการตอบคำถามและข้อโต้แย้งในการนำเสนอ
การฝึกปฏิบัติและการประเมินผล
- การฝึกปฏิบัติการนำเสนอโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆ
- การประเมินผลตนเองในการนำเสนอ
- การให้ Feedback จากมุมมองของผู้ฟัง
- Action Plan เพื่อต่อยอดสู่การนำเสนอในชีวิตจริง
หลักการและรูปแบบการฝึกอบรม
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ที่ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่ได้เรียนรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง จะต้องเกิดจากความสมดุลย์ระหว่าง ทักษะ (Skillset) และ ทัศนคติ (Mindset) ซึ่งหลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีความกลมกลืนของสองปัจจัยดังกล่าว ดังนี้
ทักษะ (Skillset)
เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้เทคนิคที่ได้เรียนรู้ในคลาส ซึ่งเป็นการฝึกทักษะในหลายรูปแบบ ได้แก่
- การฝึกเป็นกลุ่มเล็กแบบสามมิติ (Triad) คือ ผู้ฝึกปฏิบัติการนำเสนอ ผู้ฟัง และผู้สังเกตการณ์ สลับบทบาทกันไปจนครบ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีมุมมองที่หลากหลาย
- การฝึกการนำเสนอเสมือนจริง คือฝึกการนำเสนอหน้าคลาสกับผู้ฟังกลุ่มใหญ่พร้อมการอัดVDO
- มีการให้ Feedback รายบุคคลจากผู้สอน เพื่อการพัฒนาการนำเสนอในครั้งต่อไป
- ใช้การ Coaching ซึ่งเป็นการประเมินผลตนเองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทัศนคติ (Mindset)
ผู้สอนออกแบบการสอนให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ปรับทัศนคติเพื่อให้ยอมรับและเห็นความสำคัญของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ มีความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์เกี่ยวกับการนำเสนอมากขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการนำเสนอ ด้วยกิจกรรมและเทคนิคที่หลากหลาย เช่น
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking) เพื่อให้ลดกำแพงและเปิดใจให้กับการเรียนรู้และเพิ่มความมั่นใจในการนำเสนอมากขึ้น
- กิจกรรม Intention Setting เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนละความเป็นตัวตน หรือ ลดอีโก้ที่มีในตนเอง ฝึกการออกจาก Comfort Zone กล้าและยินดีที่จะร่วมกิจกรรมแม้จะไม่คุ้นเคย
- การใช้เทคนิควิธีการในการฝึกอบรมต่างๆ เช่น กิจกรรมกลุ่ม เกม กรณีศึกษา บทบาทสมมุติ เวิร์คช็อป คลิปวีดีโอ เสียงเพลง ซึ่งจะกระตุ้นและจรรโลงใจให้ผู้เรียนมีอารมณ์และความรู้สึกร่วม
- บรรยากาศของการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเป็นกันเอง ชวนติดตาม มีการชื่นชม และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นแบบอย่างในการนำไปต่อยอดสู่การนำไปใช้จริง