ทำไมผู้นำต้องเล่าเรื่องเป็น
บางครั้ง เพียงแค่เราดูหนังบางเรื่อง ละครบางฉาก เรามักจะได้ข้อคิดที่ทำให้เราอยากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การฟังคุณพ่อคุณแม่เล่านิทานสมัยเรายังเด็ก ทำให้เรามีความฝันและแรงบันดาลใจที่อยากจะเป็นหรือไม่อยากจะเป็นเช่นตัวละครในนิทานเรื่องนั้น ที่สำคัญมันทำให้เราได้เตือนสติตัวเองอยู่เสมอทั้งๆที่เวลาได้ผ่านมานานแล้ว แต่ที่เรายังจำได้เพราะเรามักจะเลือกจำเรื่องราวที่มีอารมณ์หรือความรู้สึกอยู่ในนั้น
วิสัยทัศน์ขององค์กร หรือเป้าหมายของทีม อาจเป็นเพียงข้อความที่เขียนไว้หรือภาพในฝัน ความมุ่งมั่นในการไปสู่วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้หากผู้นำไม่มีความสามารถในการโน้มน้าวใจทีมงานเพื่อให้ลงเรือลำเดียวกัน การสื่อสารด้วยวิธีการเดิมๆ เช่นการพูดหรือการอธิบายแห้งๆ เป็นการพูดที่น่าเบื่อและไม่อาจทำให้ทีมงานมองเห็นภาพเดียวกันหรือสร้างภาพจำด้วยอารมณ์และความรู้สึก
ผู้นำสมัยใหม่จึงต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสารเพื่อโน้มน้าว เข้าถึงใจผู้ฟัง สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมลงมือทำและเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเล่าเรื่อง (Story Telling) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าไปถึงทัศนคติและความเชื่อของผู้ฟัง และนั่นคือเคล็ดลับในการสร้างความตระหนักรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของทีมงาน ที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์เดียวกันอย่างมีพลัง ผู้นำจึงต้อง ”เล่าเรื่องเป็น”
หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรม
- เรียนรู้ศาสตร์ของการเล่าเรื่องและเบื้องหลังการทำงานของสมอง กับการเล่าเรื่อง
- มีไอเดียที่หลากหลายในการเลือกเรื่องที่จะมาเล่า
- สร้างโครงเรื่องหลัก พล็อตเรื่อง และองค์ประกอบสำคัญต่างๆในเรื่องเล่า ได้อย่างครบถ้วน
- เล่าเรื่องได้อย่างทรงพลังเพื่อนำสู่การสร้างความตระหนักรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ฟัง
- โยงเรื่องที่จะเล่าเข้าสู่โหมดทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างเห็นผล
หัวข้อในการเรียนรู้
- ผู้นำกับความสำคัญของการเล่าเรื่อง
- องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง
- ประเภทของเรื่องที่เล่า
- การสร้าง Key Message หลักของเรื่องที่จะเล่า
- พล็อตเรื่องที่ใช้ได้ผล
- เทคนิคในการหาไอเดียและเลือกเรื่องที่จะเล่า
- หลักการคิดจุดพีคหรือไฮไลต์ของเรื่อง
- วิธีการเล่าเรื่องเพื่อดึงดูดใจ
- การขยี้เรื่องให้ทรงพลัง
- การเล่าเรื่องที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- การโยงเรื่องเล่าเข้าสู่ธุรกิจ
หลักการและรูปแบบของการฝึกอบรม
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ที่ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่ได้เรียนรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง จะต้องเกิดจากความสมดุลย์ระหว่าง ทักษะ (Skillset) และ ทัศนคติ (Mindset) ซึ่งหลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีความกลมกลืนของสองปัจจัยดังกล่าว ดังนี้
ทักษะ (Skillset)
ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้เทคนิคที่ได้เรียนรู้ในคลาส ซึ่งเป็นการฝึกทักษะในหลายรูปแบบ ได้แก่
- การฝึกเป็นกลุ่มเล็กแบบสามมิติ (Triad) คือ ผู้ฝึกปฏิบัติหรือ ผู้เล่าเรื่อง ผู้ฟัง และผู้สังเกตการณ์ สลับบทบาทกันไปจนครบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้มีมุมมองที่หลากหลายเพื่อสร้างความตระหนักรู้
- การฝึกการเล่าเรื่องเสมือนจริง คือฝึกการเล่าเรื่องหน้าคลาสกับผู้ฟังกลุ่มใหญ่
- มีการให้ Feedback รายบุคคลจากผู้สอน เพื่อการพัฒนาการเล่าเรื่องในครั้งต่อไป
- ใช้การ Coaching ซึ่งเป็นการประเมินผลตนเองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทัศนคติ (Mindset)
ผู้สอนออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้ปรับทัศนคติเพื่อให้ยอมรับและเห็นความสำคัญของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ มีความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์เกี่ยวกับการเล่าเรื่องมากขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเล่าเรื่องด้วยกิจกรรมและเทคนิคที่หลากหลาย เช่น
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking) เพื่อให้ลดกำแพงและเปิดใจให้กับการเรียนรู้ และเพิ่มความมั่นใจในการร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
- กิจกรรม Intention Setting เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนละความเป็นตัวตนหรือลดอีโก้ที่มีในตนเอง ฝึกการออกจาก Comfort Zone กล้าและยินดีที่จะร่วมกิจกรรมแม้จะไม่คุ้นเคย
- การใช้เทคนิควิธีการในการฝึกอบรมต่างๆ เช่น เรื่องเล่า คลิปวีดีโอ เสียงเพลง เกมกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งจะกระตุ้นและจรรโลงใจให้ผู้เรียนมีอารมณ์และความรู้สึกร่วม
- บรรยากาศของการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเป็นกันเอง ชวนติดตาม มีการชื่นชม และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นแบบอย่างในการนำไปต่อยอดสู่การนำไปใช้จริง