“คนเข้าทำงานเพราะบริษัท
แต่ต้องตัดใจออกเพราะผู้นำ”
เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงแต่ประการใด สอดคล้องกับงานวิจัยที่สนับสนุนข้อความดังกล่าวซึ่งพบว่า
“หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้พนักงานต้องลาออกหรือหมดใจในการทำงานคือปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้นำของเขา มิใช่เพียงเพราะเงินเดือน ค่าตอบแทน หรือเหตุผลอื่นใด”
ผู้นำจำนวนมากเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาจากพนักงานโดยอาศัยเกณฑ์ความชำนาญหรือทักษะในงาน (Technical Skill) และความอาวุโส(Seniority) โดยไม่ได้ถูกประเมินจากความสามารถในการบริหารจัดการคน (People Skill) ทำให้ผู้นำเหล่านี้ไม่รู้จักการพัฒนาลูกน้องอย่างถูกวิธี รวมถึงไม่รู้จักเทคนิคในการครองใจลูกน้องให้ทำงานด้วยใจและทำงานเป็นทีม
นอกจากนี้ ผู้นำผู้ประสบความสำเร็จหลายท่านมักจะมีความเชื่อมั่นในตนเองมั่นใจว่าความคิดและวิธีการทำงานหรือการแก้ปัญหาแบบที่ทำอยู่นี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดลูกน้องทุกคนควรเชื่อฟังและปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข ใครที่มีความคิดต่างและขัดแย้งคือฝ่ายตรงกันข้าม
ดังนั้นผู้นำสมัยใหม่จึงต้องมีทักษะทั้งด้านการบริหารคน (People Skill) อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้นำเป็นผู้นำที่เก่งรอบด้านไม่ว่าจะเป็น เก่งตน เก่งคน เก่งงาน เพื่อพัฒนาตนและลูกน้อง และเพื่อรักษาสมาชิกในทีมให้อยู่กับองค์กรและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเปี่ยมสุข
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้นำ
- อีโก้สูง ไม่มีภาวะผู้นำแห่งความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ
- จ้องแต่ตำหนิและรายงาน แต่ไม่เคยเป็นโค้ชผู้สอนและดึงศักยภาพ
- นิ่งเฉย ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่เทคแอคชั่น ลูกน้องทำผิดก็ไม่กล้าพูด
- ถนัดพูดแต่ไม่ถนัดฟัง เป็นผู้ฟังที่อยู่แต่กับตัวเอง
- พูดหรือแนะนำแบบไม่รักษาน้ำใจ ลูกน้องไม่อยากปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
- สร้างแรงจูงใจหรือกระตุ้นลูกน้องไม่เป็น
- บริหารลูกน้องทุกคนในแบบเดียวกันทั้งที่แต่ละคนมีความหลากหลาย
- ไม่สามารถดึงศักยภาพของลูกน้องอย่างเต็มที่เพื่อความก้าวหน้าและเติบโต
หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้าอบรม
- ปรับทัศนคติให้เป็นบวก มีกรอบความคิดแบบเติบโต(Growth Mindset) ตระหนักถึงความสำคัญในการเป็นโค้ชที่เชื่อมั่นและไว้ใจในความคิดเห็นของลูกน้อง
- สามารถให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่ลูกน้องให้รู้จักแก้ไขจุดที่ควรปรับปรุงด้วยความเต็มใจ
- เป็นโค้ชที่สามารถกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับการโค้ชค้นหาและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างยั่งยืน
- เป็นผู้นำที่ครองใจลูกน้อง เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้องด้วยการเป็นผู้นำตัวอย่าง (Leader by Example)
หัวข้อในการเรียนรู้
ทัศนคติของผู้นำ (Leader’s Mindset))
- ผู้นำผู้สำรวจตนเอง
- ผู้นำกับวิธีคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)
- การตั้งความตั้งใจ (Intention Setting)
- วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้นำ ด้วยสมการ E + R = O
- ความเข้าใจในความหลากหลายของทีมงาน
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของผู้นำ (Effective Communication Skills)
- การชมที่เป็นกำลังใจในการพัฒนา
- คำพูด น้ำเสียง ภาษากาย ของผู้นำ
- ผู้นำกับการสื่อสารเป้าหมายแบบ Smart
- อวัจนภาษาของผู้นำกับการสื่อสาร
- การสื่อสารเรื่องความคาดหวังของกันและกัน
การให้ Feedback ที่ทำให้ลูกน้องอยากปรับเปลี่ยนตัวเอง
- ทัศนคติของผู้นำที่กล้าให้ Feedback
- EAR เครื่องมือในการสื่อสารที่เป็นหลักฐานชัดเจน
- Sandwich Feedback เครื่องมือการให้คำแนะนำที่ทำให้ลูกน้องเต็มใจที่จะนำไปปรับปรุงตนเอง
- 4 คำถามเพื่อการประเมินผลตนเอง
การสอนงานแบบ On The Job Training
- หลักการสอนงานแบบ KUSA เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- เครื่องมือ Pain & Gain เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนงานเห็นความสำคัญ
- ขั้นตอนการสอนงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
- การประเมินผลก่อน ระหว่าง และหลังการสอนงาน
Mindset ของโค้ช
- ละความเป็นเจ้านาย กลายเป็นเพื่อนร่วมทาง
- ผู้รับการโค้ชคือศูนย์กลาง
- การโฟกัสไปที่ทางออก ไม่ใช่ปัญหา
- การวางตัวเป็นกลางโดยไม่ตัดสิน
ผู้นำในบทบาทของโค้ช (Leader as Coach)
- กรอบความคิดของโค้ชผู้พัฒนาศักยภาพของลูกน้อง
- การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening)
- ความสัมพันธ์ระดับลึก (Rapport) เพื่อสร้างความไว้วางใจ
- การตั้งคำถามที่ทรงพลัง
- การสะท้อนกลับความคิดของผู้รับการโค้ช
- GROW Model เครื่องมือพื้นฐานของโค้ช
- Action Plan แบบ Stay Stop Start ที่นำไปปรับใช้ในการทำงานได้จริง
หลักการและรูปแบบของการฝึกอบรม
- การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ที่ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่ได้เรียนรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง จะต้องเกิดจากความสมดุลย์ระหว่าง ทักษะ (Skillset) และทัศนคติ (Mindset) ซึ่งหลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีความกลมกลืนของสองปัจจัยดังกล่าว ดังนี้
ทักษะ (Skillset)
ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้เทคนิคที่ได้เรียนรู้ในคลาส ซึ่งเป็นการฝึกทักษะเป็นกลุ่มเล็กแบบสามมิติ (Triad) คือ พนักงงานผู้เป็นผู้นำ ลูกน้อง และผู้สังเกตการณ์ สลับบทบาทกันไปจนครบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้มีมุมมองที่หลากหลาย เพื่อสร้างความตระหนักรู้และมีการใช้หลักการ Coaching ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มี Action Plan ส่วนตัวเพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานจริง
ทัศนคติ (Mindset)
ผู้สอนออกแบบการสอนให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ปรับทัศนคติเพื่อให้ยอมรับและเห็นความสำคัญของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ มีความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์เกี่ยวกับการเป็นผู้นำมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในการนำความรู้จากคลาสไปใช้ในการทำงานจริง
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking)เพื่อให้ลดกำแพงและเปิดใจให้กับการเรียนรู้ และเพิ่มความมั่นใจในการร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
- กิจกรรม Intention Setting เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนละความเป็นตัวตน หรือ ลดอีโก้ที่มีในตนเอง ฝึกการออกจาก Comfort Zone กล้าและยินดีที่จะร่วมกิจกรรมแม้จะไม่คุ้นเคย
- การใช้เทคนิควิธีการในการฝึกอบรมต่างๆ เช่นกิจกรรมกลุ่ม เกม กรณีศึกษา บทบาทสมมุติ เวิร์คช็อป คลิปวีดีโอ เสียงเพลง ซึ่งจะกระตุ้นและจรรโลงใจให้ผู้เรียนมีอารมณ์และความรู้สึกร่วม
- บรรยากาศของการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเป็นกันเองชวนติดตาม มีการชื่นชม และให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อเป็นแบบอย่างในการนำไปต่อยอดสู่การนำไปใช้จริง