IMPACT PERFORMANCE FEEDBACK

IMPACT PERFORMANCE FEEDBACK

Performance Feedback

เป็นการแจ้งข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อให้ทราบว่าอยู่ที่จุดไหนเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้  อะไรที่ทำได้ดีที่ควรทำต่อไป อะไรที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลงานที่ต้องการ

แต่บ่อยครั้งที่มักจะมีปัญหาเกิดขึ้นในการ Performance Feedback อันได้แก่

  • พนักงานมองการให้ Feedback เป็นเรื่องลบ คิดว่าการให้ Feedback คือการถูกตักเตือนหรือถูกตำหนิถึงการทำงานที่ผิดพลาด
  • หัวหน้างานไม่รู้จักศิลปะในการให้ Feedback ที่ดี พนักงานได้รับ Feedback แล้วรู้สึกเสียกำลังใจและไม่ยอมรับในผลของการ Feedback
  • หัวหน้างานกลัวว่าลูกน้องจะรู้สึกไม่ดี จึงเลือกที่จะไม่พูดหรือพูดแต่สิ่งดีๆ ทำให้ลูกน้องไม่รู้ว่าควรต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
  • หัวหน้างานบางคน Feedback แต่ในมุมมองของตนเองตาม KPI หรือ Competency แต่ไม่เคยสอบถามหรือค้นหาปัญหาที่แท้จริงในมุมมองของพนักงานเอง
  • หัวหน้างานให้ Feedback ไม่ชัดเจน และขาดการติดตามผลที่ดีพนักงานไม่รู้ว่าจะต้องปรับปรุงตัวอย่างไรเพื่อทำผลงานให้ดีขึ้น

หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้บริหาร

  • ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการให้ Performance Feedback และสำรวจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการให้ Feedback ที่ผ่านมา
  • ปรับทัศนคติด้านการให้ Performance Feedback ให้เป็นเชิงบวกและสร้างสรรค์
  • สามารถพาพนักงานสำรวจและให้ Feedback ตัวเองเพื่อนำข้อมูลมาประกอบการให้ Feedback ที่แม่นยำมากขึ้น
  • สามารถใช้เทคนิคและเครื่องมือในการให้ Feedback ที่ทรงประสิทธิผล ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการประเมินผลของแผนกและองค์กร
  • มีศิลปะในการให้ Feedback ที่ทำให้พนักงานรู้สึกดี ยอมรับและเต็มใจที่จะนำผลการ Feedback นั้นไปปรับปรุงการทำงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย
  • สามารถสอนแนะพนักงานเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย

หัวข้อในการเรียนรู้

ทัศนคติของผู้นำในการให้ Feedback (Leader’s Attitude in Performance Feedback)
  • การสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการให้ Performance Feedback
  • ทัศนคติเชิงบวกและสร้างสรรค์ในการให้ Performance Feedback  
  • วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้นำและการสำรวจตัวเอง
  • ผู้นำ 4 ประเภทกับการให้ Feedback

การสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพ (Effective Communication Skills)

  • ความสำคัญของคำพูด น้ำเสียง ภาษากาย
  • การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening)
  • ความสัมพันธ์ระดับลึก (Rapport) เพื่อสร้างความไว้วางใจ
  • การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นใจต่อการให้ Performance Feedback

เทคนิคและเครื่องมือในการให้ Performance Feedback (Tools and Techniques)

  • แบบฟอร์มและเอกสารในการบันทึกข้อมูล
  • ลำดับขั้นตอนในการให้ Performance Feedback
  • GROW Model กับการตั้งคำถามในการให้ Feedback
  • EAR เทคนิคการให้ Feedback โดยมีหลักฐาน (Evidence) ที่ชัดเจน
  • Sandwich Feedback เครื่องมือการให้คำแนะนำที่ทำให้ลูกน้องเต็มใจที่จะนำไปปรับปรุงตนเอง

การสอนแนะหลังการให้ Feedback (Coaching for Improvement)

  • เครื่องมือ Pain & Pleasure เพื่อดึงดูดให้พนักงานเห็นความสำคัญ
  • หลักการสอนแนะแบบ KUSA เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • ขั้นตอนการสอนงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

Action Plan สู่ความสำเร็จ

  • การตั้งเป้าหมายแบบ SMART
  • การสำรวจตัวเองเพื่อสร้างความตระหนักรู้
  • การหาทางเลือกเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจ
  • การเขียน Action Plan ส่วนตัวที่ทรงพลัง ด้วย Stay Stop Start Model ที่นำไปปรับใช้ได้จริง

หลักการของการฝึกอบรม

การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ที่ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่ได้เรียนรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง จะต้องเกิดจากความสมดุลย์ระหว่าง ทักษะ (Skillset) และ ทัศนคติ (Mindset) ซึ่งหลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มีความกลมกลืนของสองปัจจัยดังกล่าว ดังนี้

ทักษะ (Skillset)

ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับการใช้เทคนิคที่ได้เรียนรู้ในคลาส ซึ่งเป็นการฝึกทักษะเป็นกลุ่มเล็กแบบสามมิติ (Triad) คือ ผู้ให้การประเมินผล ผู้ถูกประเมินผล และผู้สังเกตการณ์ สลับบทบาทกันไปจนครบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้มีมุมมองที่หลากหลายสู่ความตระหนักรู้ นอกจากนี้ยังมีการฝึก Feedback ใน Performance Feedback อีกขั้นระหว่างการฝึกปฏิบัติ เพื่อนำเครื่องมือการให้ Feedback มาให้ Feedback การฝึกของเพื่อนร่วมคลาสอีกขั้นหนึ่ง

ทัศนคติ (Mindset)

ผู้สอนออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้ปรับทัศนคติเพื่อให้ยอมรับและเห็นความสำคัญของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ มีความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์เกี่ยวกับ Performance Feedback มากขึ้น และเพื่อลดความคิดต่อต้านที่อาจเคยมีในอดีต ด้วยกิจกรรมและเทคนิคที่หลากหลาย เช่น

  • กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice Breaking) เพื่อให้ลดกำแพงและเปิดใจให้กับการเรียนรู้ และเพิ่มความมั่นใจในการร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
  • กิจกรรม Intention Setting เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนละความเป็นตัวตน หรือ ลดอีโก้ที่มีในตนเอง  ฝึกการออกจาก Comfort Zone กล้าและยินดีที่จะร่วมกิจกรรมแม้จะไม่คุ้นเคย
  • การใช้เทคนิควิธีการในการฝึกอบรมต่างๆ เช่น เรื่องเล่า คลิปวีดีโอ เสียงเพลง ซึ่งจะกระตุ้นและจรรโลงใจให้ผู้เรียนมีอารมณ์และความรู้สึกร่วม
  •  บรรยากาศของการเรียนรู้ที่เป็นกันเอง ชื่นชม และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นแบบอย่างในการนำไปต่อยอดสู่การนำไปใช้จริง

รูปแบบการฝึกอบรม

  • เปิดและปรับทัศนคติก่อนสร้างความตระหนักรู้ ก่อนนำสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์
  • เรียนรู้ผ่านรูปแบบวิธีการสอนที่หลากหลายผ่านกิจกรรมกลุ่มเกม VDO และ Workshop มากมาย ที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้
  • ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดทักษะก่อนนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
  • เรียนรู้ผ่านรูปแบบการโค้ชชิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืน
  • บรรยากาศการเรียนรู้เป็นแบบสนุกสนานและเป็นกันเองชวนติดตาม ไม่น่าเบื่อ
ผู้ที่เหมาะกับหลักสูตรนี้ : ผู้บริหารระดับหัวหน้างานขึ้นไป
ระยะเวลา : 1 วัน 6 ชั่วโมง (09.00 น. – 16.00 น.)
จำนวนผู้เข้าอบรม : ไม่เกิน 20 ท่าน/รุ่น
ภาพบรรยากาศฝึกอบรม

ติดต่อสอบถาม

บริษัท แอตต้า9 เทรนนิ่ง จำกัด

311/65 หมู่ 11 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลีจ.สมุทรปราการ 10540

line